top of page
Kids in Art Class

knowledge

Read more

ความรู้ยอดนิยม

“ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา” (Intelligence Quotient) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า IQ เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล และการเชื่อมโยง จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่า เด็กปฐมวัยที่มีแนวโน้มพัฒนาการด้านสติปัญญาดี จะมีลักษณะเป็นเด็กช่างสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว รับรู้และบอกรายละเอียดของสิ่งต่างๆ และเหตุการณ์รอบตัวได้เป็นอย่างดี สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว รู้จักสังเกตุ อยากรู้อยากเห็น ชอบตั้งคำถาม สำรวจ ทดลอง แก้ไขปัญหา มีความคิดเป็นของตัวเอง ความจำดี มีจินตนาการ และต้องการความเป็นอิสระ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเด็กส่วนใหญ่มีลักษณะดังเช่นที่กล่าวมาข้าวต้น เพราะธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีลักษณะที่กระตือรือร้นและสนใจใคร่รู้ตลอดเวลาอยู่แล้ว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ล้วนเป็นสิ่งใหม่ที่น่าสนใจและตื่นเต้นสำหรับพวกเขา ด้วยเหตุนี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า เด็กทุกคนสามารถมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดีได้ หากได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสม ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสังเกตอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สามารถเห็นถึงจุดแข็งที่ซ่อนอยู่ของเด็ก และให้การส่งเสริมเพื่อต่อยอดให้ความสามารถด้านนั้นพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย มีดังนี้ 1. “การลงมือทำ” เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การฟังเสียง การสัมผัส การชิมรส และการดมกลิ่น เพราะข้อมูลที่เด็กได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จะช่วยให้เด็กสามารถจดจำและทำความเข้าใจได้ดีขึ้น เช่น การทัศนศึกษา การทำงานศิลปะ งานสวน ทำอาหาร 2. “การสื่อสาร” เป็นการส่งเสริมให้ลูกได้มีโอกาสฝึกฝนและพัฒนาทักษะในการใช้ภาษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อถ่ายทอดข้อมูล และสื่อสารอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกทั้งของตนเองและผู้อื่นในระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การอ่านหนังสือ การแต่งนิทานจากจินตนาการและเล่าเรื่อง 3. “การเชื่อมโยง” เป็นการช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะทางวิชาการที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เพราะการที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง เด็กจะสามารถเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ของสิ่งนั้น ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายที่แท้จริง เช่น การให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับซื้อของในร้านค้า เด็กจะได้เรียนรู้ตั้งแต่การสังเกตตัวเลขและตัวอักษร โดยอ่านรายการและจำนวนของสิ่งที่ต้องซื้อ อ่านราคาของสินค้า การสังเกตรู้ทรง สีสัน พื้นผิว การเปรียบเทียบความเหมือนและต่างของภาชนะสินค้าต่าง ๆ การจำแนกประเภทของผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ประเภทต่าง ๆ การชั่งน้ำหนัก วัดขนาด ตวงปริมาตรของอาหาร การจดจำทิศทางและคำนวณพื้นที่ของรถเข็นหรือตะกร้ากับสิ่งของที่ต้องซื้อ รวมทั้งการเรียนรู้เรื่องลักษณะของเงินและของค่าเงิน การบวกและลบราคาสินค้า เงินที่ต้องจ่าย และเงินทอน ที่มา Collaborative for Academic, Social, and Emotional Learning [CASEL]. (2016). Safe and sound: An educational leader’s guide to evidence-based Social and Emotional Learning [SEL] programs. Pennsylvania: Mid-Atlantic Regional Educational Laboratory. ผู้เขียน รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช #GeniusXAlpha #BrainSkillDevelopment
Playful Kids

“ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา” (Intelligence Quotient) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า IQ เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล...

“ความกล้าแสดงออก”  เป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กในยุคนี้ เพราะเด็กที่มีความกล้าแสดงออก มักจะมองเห็นโอกาสต่าง ๆ ที่เข้ามา และกล้าลองทำในสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ คอยสั่งสมประสบการณ์ และส่งผลให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้ 

แต่อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ต้องเข้าใจว่า เด็กแต่ละคนนั้นมี "ลักษณะนิสัย" หรือ "ระบบความคิด" ที่แตกต่างกันไป เด็กบางคนอาจไม่ถนัดในเรื่องการแสดงออก แต่อาจชอบที่จะใช้ความคิดอยู่กับตัวเอง ทำอะไรคนเดียว ไม่ชอบเป็นจุดสนใจ หรือมีความถนัดในด้านอื่นมากกว่า อย่างไรก็ตาม หากพบว่าลูกมีพฤติกรรมที่ไม่มั่นใจอยู่บ่อยครั้ง หรือรวมถึงไม่สามารถปรับตัวเมื่อเจอสถานการณ์ใหม่ ๆ ก็อาจเกิดปัญหาการเข้าสังคมในอนาคตได้ ความกล้าแสดงออก สามารถฝึกได้ ซึ่งพ่อแม่สามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกได้ ดังนี้ 

1. ให้ลูกได้ลองทำในสิ่งที่ชอบ
เด็กแต่ละคนมี “ความชอบ” หรือ “ความถนัด” ที่แตกต่างกัน พ่อแม่ควรให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่เขาชอบ ส่งเสริมทักษะที่เป็นประโยชน์ และคอยให้กำลังใจเมื่อลูกทำสิ่งต่าง ๆ เมื่อลูกได้ทำในสิ่งที่ชอบอยู่เป็นประจำ เขาก็จะสามารถทำในสิ่งนั้นได้ดี และส่งผลให้มั่นใจในตัวเองมากขึ้น 

2. ชื่นชมเมื่อลูกกล้าแสดงออก
เมื่อลูกแสดงพฤติกรรมที่มีความกล้าแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจเลือก หรือเริ่มทำอะไรบางอย่าง รวมถึงเมื่อลูกแสดงความสามารถต่าง ๆ พ่อแม่ควรที่จะชื่นชมและสอน เพื่อให้ลูกเห็นข้อดีของการกล้าแสดงออก และให้เขาทำพฤติกรรมเชิงบวกเช่นนั้นอีก 

3. พาลูกออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน
เมื่อมีเวลาว่าง พ่อแม่ควรพาลูกออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ้าง ให้ลูกได้พบเจอผู้คนใหม่ ๆ พบเจอเพื่อนใหม่ สังคมใหม่ หรือให้ลูกทำกิจกรรมกับเพื่อนในวัยเดียวกัน เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้การปรับตัวได้ และรู้จักการเข้ากลุ่ม ซึ่งจะสามารถเพิ่มความมั่นใจ และความกล้าแสดงออกให้กับลูกได้ 

กล่าวได้ว่า ความกล้าแสดงออก นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้ ถึงแม้ลูกจะไม่มีความกล้าแสดงออกมากนัก แต่อย่างไรก็ควรจะมีความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ซึ่งพ่อแม่สามารถฝึกให้กับลูกได้ เพียงเข้าใจลูก และส่งเสริมให้เหมาะกับสิ่งที่เขาเป็น เพื่อให้สามารถ “ปรับตัว” และ “ประสบความสำเร็จ” ในอนาคตได้
Playful Kids

“ความกล้าแสดงออก” เป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กในยุคนี้ เด็กที่มีความกล้าแสดงออก มักจะมองเห็น #โอกาสต่าง ๆ ที่เข้ามา...

ทฤษฎีพัฒนาการตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันส่วนใหญ่นำเสนอไปในทิศทางเดียวกันว่า มนุษย์สามารถพัฒนาอารมณ์สุขให้เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยเด็กที่ได้รับการหล่อหลอมตัวตนให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม จะยิ่งพัฒนาความสุขสงบได้มากขึ้นในช่วงชีวิตต่อไป พัฒนาการของมนุษย์มีลักษณะเป็นไปตามลำดับ โดยมีทิศทางการพัฒนาจากบนลงล่าง นั่นคือ เด็กทารกจะเริ่มพัฒนากล้ามเนื้อบนใบหน้าได้ก่อนส่วนอื่น เช่น การขยับปากเพื่อกิน การหลับตาเพื่อนอน และการแสดงอารมณ์ต่าง ๆ บนใบหน้า ต่อจากนั้นจึงเริ่มพัฒนากล้ามเนื้อส่วนคอ แขน และขาตามลำดับ นอกจากนี้ทิศทางการพัฒนายังเรียงลำดับจากภายในสู่ภายนอกอีกด้วย การพัฒนาภายในตนที่สมบูรณ์ย่อมนำมาสู่การพัฒนาความสุขและความสำเร็จด้านอื่น ๆ ต่อไป โดย  “การรับรู้เกี่ยวกับตนเอง” (Self-concept) เป็นการรู้จักตนเองในด้านต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละช่วงอายุก็จะมีรายละเอียดเรื่องที่ต้องรับรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นตามวัย ทำให้เด็กรู้จักและเข้าใจตนเองได้อย่างละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น การพัฒนาภายในตนลำดับต่อมา คือ “การควบคุมตนเอง” (Self-control) เป็นการพัฒนาที่ต่อเนื่องมาจากการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง นั่นคือหลังจากที่เด็กรู้จักตนเองแล้วก็จะเกิดการเรียนรู้ต่อไปว่าตนเองสามารถทำอะไรได้บ้าง อะไรที่ควรทำ และอะไรที่ไม่ควรทำ ซึ่งเป็นการพัฒนาเรื่องการควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาตนขั้นต่อไป ลำดับถัดมาคือ “การรับรู้ความสามารถของตนเอง” (Self-esteem) จะได้รับการพัฒนาเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองที่ดี เช่น ความรัก การยอมรับ คำชมเชย นั่นคือ เมื่อเด็กแสดงความสามารถแล้วผู้ใหญ่ตอบสนองในทิศทางที่ดี ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง เด็กจะพัฒนาความรู้สึกว่าตนเองมีค่า มีความสามารถ เป็นที่รักและได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ส่งผลให้สมองรับรู้ข้อมูลเชิงบวกและหลั่งสารแห่งความสุข (Endorphin) แล้วมีความทรงจำเชิงบวก หลังจากนั้นสมองจะสั่งการให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่ดีต่อไป และจะเกิดขึ้นซ้ำเป็นวงจรในการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นต่อไปในอนาคต ดังนั้น การพูดเพื่อให้กำลังใจหรือชมเชยเด็กจึงเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กพัฒนาตนเองได้ แต่การชมเชยที่ได้ผลก็ควรระบุถึงพฤติกรรมที่ดีของเด็กอย่างชัดเจน เพื่อให้เด็กรู้ว่าพฤติกรรมอะไรที่ทำแล้วได้รับผลดี และเป็นการกระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมนั้นอีก เช่น แทนที่จะชมว่า “หนูเก่งจังเลย” ก็ชมด้วยคำว่า “หนูพยายามทำได้ดีมาก” หรือแทนที่จะชมว่า “หนูเป็นเด็กดีจังเลย” ก็ชมด้วยคำว่า “หนูเป็นเด็กที่มีน้ำใจจังเลย” และแทนที่จะชมว่า “หนูระบายสีได้สวยจังเลย” ก็ชมด้วยคำว่า “หนูมีความตั้งใจที่ยอดเยี่ยมไปเลย” ที่มา College Lake County. (2020). Lifespan development: Self-concept and self-esteem. Retrieved from https://courses.lumenlearning.com/suny-lifespandevelopment/chapter/self-concept-and-self-esteem/. University of Minnesota Extention. (2018). Early childhood 1 – 4 years. Retrieved from https://www.brightfutures.org/bf2/pdf/pdf/EC.pdf. ผู้เขียน รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช #GeniusXAlpha #BrainSkillDevelopment
Playful Kids

ทฤษฎีพัฒนาการตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันส่วนใหญ่นำเสนอไปในทิศทางเดียวกันว่า มนุษย์สามารถพัฒนาอารมณ์สุขให้เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย...

ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนในสังคมปัจจุบัน ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการ "ขาดความเอาใจใส่" และ "ขาดการอบรมระเบียบวินัย" ให้เด็กรู้จักการควบคุมตนเอง "การควบคุมตนเอง" (Self-control)
ในที่นี้หมายถึง การอดทนรอคอย การยับยั้งชั่งใจ ให้ไม่กระทำสิ่งที่ผิดหรือแสดงความต้องการอย่างหุนหันพลันแล่น โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดตามมา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด
ได้ทำการทดลองกับเด็กในห้องสังเกตการณ์ โดยสร้างเงื่อนไขว่า… ให้เด็กไปนั่งหน้าโต๊ะที่มีขนมมาร์ชเมลโลว์ 1 ชิ้นวางอยู่ แล้วบอกเด็กว่า นักวิจัยจะออกไปจากห้องเพื่อเอาขนมมาให้เพิ่ม เด็กจะกินขนมชิ้นที่อยู่ข้างหน้านั้นก่อนก็ได้ ซึ่งจะได้กินแค่ชิ้นเดียว แต่ถ้ายังไม่กินและรอจนกว่านักวิจัยกลับมา เด็กจะได้กินขนมเพิ่มเป็น 2 ชิ้น จากผลการทดลอง ทำให้สามารถแบ่งเด็กออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มหนึ่ง ที่ได้กิน 1 ชิ้น เพราะไม่สามารถอดทนรอได้
กลุ่มสอง ที่ได้กิน 2 ชิ้น เพราะสามารถอดทนรอได้ หลังจากนั้นเมื่อเฝ้าติดตามเด็กทั้งสองกลุ่ม เมื่อเด็กทั้งสองกลุ่มเข้าสู่โรงเรียนประถมและมัธยมศึกษา พบว่า…
เด็กกลุ่มสอง มีผลการเรียนอยู่ในระดับที่ดีกว่ากลุ่มหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งมีพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมที่ดีกว่า
ซึ่ง เด็กกลุ่มหนึ่ง ยังมีอัตราความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพและพฤติกรรมอีกด้วย เช่น ความก้าวร้าว รุนแรง ยาเสพติด และอาชญากรรม เป็นต้น 1. การสอนทางตรง
คือ “การอบรมสั่งสอน” โดยพูดหรืออธิบายเหตุผลให้เด็กฟังโดยตรง เช่น ยกตัวอย่างหรือเล่าถึงเหตุการณ์ของคนที่สามารถควบคุมตนเองในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ว่าทำอย่างไร แล้วได้ผลลัพธ์ที่ดีหรือประสบความสำเร็จอย่างไร และการเสริมแรงทางบวก เช่น ชมเชยหรือให้รางวัลเมื่อลูกแสดงถึงความพยายามในการควบคุมตนเอง 2. การสอนทางอ้อม
คือ “การเป็นแบบอย่างที่ดี” เนื่องจากเด็กมักจะเรียนรู้จากตัวแบบที่ใกล้ชิดคือ พ่อและแม่ ดังนั้นการที่พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการควบคุมตนเองให้ลูกเห็นอยู่เป็นประจำและสม่ำเสมอ ลูกก็จะเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากพฤติกรรมของพ่อแม่ไปโดยธรรมชาติ และการจัดสภาพแวดล้อม เช่น การพาลูกไปเรียนรู้วิธีการควบคุมตนเองผ่านการเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ดังนั้น การส่งเสริมความสามารถใน “การควบคุมตนเอง”
จึงควรเริ่มทำเมื่อเด็กยังเด็ก ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญาเป็นไปในทิศทางที่ดีแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาด้านสุขภาพและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ อีกด้วย

ที่มา
http://www.cs.uni.edu/~jacob…/…/16f/The-Marshmallow-Test.pdf

#GeniusXALPHA
#BrainSkillDevelopment
#DesignYourLife
Playful Kids

ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนในสังคมปัจจุบัน ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการ "ขาดความเอาใจใส่" และ "ขาดการอบรมระเบียบวินัย"...

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่มีมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับครูอาจารย์ หรือเด็กกับผู้ใหญ่คนอื่น ๆ ก่อนอื่นเราต้องยอมรับกันก่อนว่า “เด็ก คือ ผลผลิตของผู้ใหญ่” ทั้งการอบรมสั่งสอนและหลักสูตรการศึกษาที่ประเทศไทยมีมาตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันล้วนให้ความสำคัญเรื่องการกล้าแสดงออกทั้งด้านการคิดและการกระทำ บ่อยครั้งที่ความคิดและการกระทำบางอย่างของเด็กก็ไม่ค่อยจะลงรอยกับผู้ใหญ่ เนื่องจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างระหว่างวัยที่ส่งผลให้เด็กมองว่าผู้ใหญ่ล้าสมัย หรือผู้ใหญ่มองว่าเด็กทำอะไรไม่เข้าท่า หรือ การปลูกฝังและส่งเสริมความเป็นพลเมืองให้แก่เด็กตั้งแต่อนุบาลถึงอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่ของพลเมือง และการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กทำหน้าที่พลเมืองในชุมชน บวกกับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญเกี่ยวกับพลเมืองในสังคมปัจจุบัน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมเด็กในปัจจุบันนี้จึงเคลื่อนไหวและสวมบทบาทการทำหน้าที่พลเมืองกันได้ขนาดนี้ เมื่อเรายอมรับกันได้แล้วว่า ผู้ใหญ่ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วยกันทั้งสิ้น ต่อมาก็ต้องมาทำความเข้าใจกันว่า เราทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะร่วมมือกันหาทางออกให้กับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าวิธีที่จะนำมาใช้ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความประนีประนอม ที่ยอมรับกันได้ทุกฝ่าย เพราะไม่มีใครต้องการให้ความรุนแรงและการสูญเสียเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นในที่นี้จึงขอนำเสนอแนวทางการประนีประนอมด้วยหลักการ 3C ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับเด็กทุกช่วงวัยตั้งแต่อนุบาลถึงอุดมศึกษา ดังนี้ 1. ความสำเร็จ (Complete) เป็นขั้นแรกที่ทุกฝ่ายต้องทำร่วมกัน คือ การหันหน้าเข้าหากันแล้วต่างฝ่ายต่างบอกถึงความต้องการที่แท้จริงของตนเอง ในขั้นนี้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องความต้องการของตนเองได้ โดยระบุให้ชัดเจนว่า “เป้าหมายคืออะไร” ซึ่งจะต้องเป็นสิ่งที่เมื่อทำได้สำเร็จแล้วความขัดแย้งที่มีจะต้องจบไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้ยืดเยื้อต่อไปเรื่อย ๆ 2. ความประนีประนอม (Compromise) เมื่อแต่ละฝ่ายได้รับทราบถึงความต้องการของกันและกันแล้ว บางครั้งอาจจะมีปัญหาตามมา คือ เป้าหมายที่ฝ่ายตรงข้ามรับไม่ได้ เพราะบางครั้งข้อเรียกร้องของฝ่ายตรงข้ามอาจจะมากเกินไปที่จะให้ได้ ดังนั้นทุกฝ่ายจะต้องมาเจรจาต่อรองกันว่าจะสามารถ “ยอมให้กัน” ได้มากน้อยแค่ไหนจึงจะเป็นที่น่าพอใจของทั้งสองฝ่าย ซึ่งขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นขั้นตอนที่ยากและอาจต้องใช้เวลานานกว่าจะหาจุดลงตัวระหว่างทั้งสองฝ่ายได้ 3. ความร่วมมือ (Cooperate) หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายหาจุดที่ลงตัวและเข้าใจตรงกันแล้ว ต้องร่วมมือและร่วมใจกันทำงานเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายตามที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการทำงานในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานาน ซึ่งอาจส่งผลให้ต่างฝ่ายต่างเปลี่ยนใจได้ ดังนั้นทุกฝ่ายจะต้องมีความซื่อสัตย์ มั่นคง จริงใจ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน จึงจะทำให้การทำงานสำเร็จและบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ถ้าหากว่าต่างฝ่ายต่างคิดจะเอาเปรียบกัน ไม่รักษาสัญญาที่ให้กันไว้ ก็อาจส่งผลให้การแก้ไขปัญหาครั้งนี้ไม่สำเร็จ และอาจจะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งครั้งใหม่ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นอีกได้ ที่มา Feist, J., & Feist, G., J. (2009). Theories of personality. Boston: McGraw-Hill. ผู้เขียน รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช #GeniusXAlpha #BrainSkillDevelopment
Playful Kids

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่มีมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับครูอาจารย์ หรือเด็กกับผู้ใหญ่คนอื่น ๆ...

ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ เป็นสิ่งที่พ่อแม่หลายคนต้องพบเจอ แต่สิ่งสำคัญคือ แล้วพ่อแม่ต้องรับมืออย่างไรกับเรื่องนี้ ? ควร “ปล่อย” ให้ลูกทำพฤติกรรมเช่นนั้นและหยุดไปเอง หรือ “ปลอบ” เมื่อเด็กร้องไห้งอแงหนักมากขึ้น “จอห์น บี วัตสัน”
นักจิตวิทยาทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นผู้นำทางความคิดว่า… ควรจะ “ปล่อย” ให้เด็กทำพฤติกรรมที่เอาแต่ใจ หรือปล่อยให้ร้องไห้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหยุดเอง เพราะจะทำให้สามารถเติบโตขึ้นไปเป็นเด็กที่สามารถพึ่งตัวเองได้ และเป็นเด็กที่มีอารมณ์ที่มั่นคง จึงทำให้หลายโรงเรียนนำเอาความคิดแบบ “วัตสัน” มาใช้กับเด็กที่ร้องไห้ งอแง ด้วยการปล่อยให้เด็กร้องไปจนกว่าจะหยุดเอง เพื่อไม่สนับสนุนพฤติกรรมที่ไม่มีเหตุผล แต่จากการวิจัยและการศึกษาทฤษฎีที่ตรงกันข้ามกันโดยสิ้นเชิงกับทฤษฎีของวัตสัน คือ ทฤษฏีของ “Johm Bowlby” และ “Mary Ainsworth” เขาได้ทำการทดลอง และได้ข้อสรุปว่า… เด็กนั้นต้องการการดูแลปลอบโยนมากกว่าการวางเฉย ปล่อยให้เด็กร้องไห้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหยุดเอง เพราะการปล่อยเด็กทำเช่นนั้น จะส่งผลเสียกับเด็กมากกว่าการปลอบโยน จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยาวนานตั้งแต่ ยุค 70s พบว่า… การปลอบโยน และการใส่ใจลูกนั้น ส่งผลดีทางด้านพฤติกรรมในระยะยาว เด็กคนนั้นจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ เป็นพ่อแม่ที่มีคุณภาพ และสร้างครอบครัวที่แข็งแรงได้ในอนาคต ดังนั้นเมื่อลูกไม่มีเหตุผล ร้องไห้ หรือเอาแต่ใจ อย่างไรพ่อแม่ก็ "ควรจะปลอบ" และตอบสนองความรู้สึกของเขาทุกครั้ง แล้วจึงค่อยสอนด้วยความใจเย็น เพื่อที่เขาจะได้เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และมีความสุขในอนาคตต่อไป... ที่มา
https://www.verywellmind.com/harry-harlow-and-the-nature-of…
https://www.psychologytoday.com/…/20…/dangers-crying-it-out…
https://psychology.jrank.org/pag…/…/John-Broadus-Watson.html GeniusX ALPHA
สมองอัจฉริยะ ชนะเกมชีวิต
“เพราะเราใช้ความสุข ออกแบบอนาคต” #GeniusXALPHA
#BrainSkillDevelopment
#DesignYourLife
Playful Kids

ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ เป็นสิ่งที่พ่อแม่หลายคนต้องพบเจอ แต่สิ่งสำคัญคือ แล้วพ่อแม่ต้องรับมืออย่างไรกับเรื่องนี้ ? ควร “ปล่อย”...

ความรู้ที่น่าสนใจ

“ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา” (Intelligence Quotient) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า IQ เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล และการเชื่อมโยง จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่า เด็กปฐมวัยที่มีแนวโน้มพัฒนาการด้านสติปัญญาดี จะมีลักษณะเป็นเด็กช่างสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว รับรู้และบอกรายละเอียดของสิ่งต่างๆ และเหตุการณ์รอบตัวได้เป็นอย่างดี สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว รู้จักสังเกตุ อยากรู้อยากเห็น ชอบตั้งคำถาม สำรวจ ทดลอง แก้ไขปัญหา มีความคิดเป็นของตัวเอง ความจำดี มีจินตนาการ และต้องการความเป็นอิสระ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเด็กส่วนใหญ่มีลักษณะดังเช่นที่กล่าวมาข้าวต้น เพราะธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีลักษณะที่กระตือรือร้นและสนใจใคร่รู้ตลอดเวลาอยู่แล้ว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ล้วนเป็นสิ่งใหม่ที่น่าสนใจและตื่นเต้นสำหรับพวกเขา ด้วยเหตุนี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า เด็กทุกคนสามารถมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดีได้ หากได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสม ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสังเกตอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สามารถเห็นถึงจุดแข็งที่ซ่อนอยู่ของเด็ก และให้การส่งเสริมเพื่อต่อยอดให้ความสามารถด้านนั้นพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย มีดังนี้ 1. “การลงมือทำ” เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การฟังเสียง การสัมผัส การชิมรส และการดมกลิ่น เพราะข้อมูลที่เด็กได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จะช่วยให้เด็กสามารถจดจำและทำความเข้าใจได้ดีขึ้น เช่น การทัศนศึกษา การทำงานศิลปะ งานสวน ทำอาหาร 2. “การสื่อสาร” เป็นการส่งเสริมให้ลูกได้มีโอกาสฝึกฝนและพัฒนาทักษะในการใช้ภาษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อถ่ายทอดข้อมูล และสื่อสารอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกทั้งของตนเองและผู้อื่นในระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การอ่านหนังสือ การแต่งนิทานจากจินตนาการและเล่าเรื่อง 3. “การเชื่อมโยง” เป็นการช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะทางวิชาการที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เพราะการที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง เด็กจะสามารถเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ของสิ่งนั้น ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายที่แท้จริง เช่น การให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับซื้อของในร้านค้า เด็กจะได้เรียนรู้ตั้งแต่การสังเกตตัวเลขและตัวอักษร โดยอ่านรายการและจำนวนของสิ่งที่ต้องซื้อ อ่านราคาของสินค้า การสังเกตรู้ทรง สีสัน พื้นผิว การเปรียบเทียบความเหมือนและต่างของภาชนะสินค้าต่าง ๆ การจำแนกประเภทของผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ประเภทต่าง ๆ การชั่งน้ำหนัก วัดขนาด ตวงปริมาตรของอาหาร การจดจำทิศทางและคำนวณพื้นที่ของรถเข็นหรือตะกร้ากับสิ่งของที่ต้องซื้อ รวมทั้งการเรียนรู้เรื่องลักษณะของเงินและของค่าเงิน การบวกและลบราคาสินค้า เงินที่ต้องจ่าย และเงินทอน ที่มา Collaborative for Academic, Social, and Emotional Learning [CASEL]. (2016). Safe and sound: An educational leader’s guide to evidence-based Social and Emotional Learning [SEL] programs. Pennsylvania: Mid-Atlantic Regional Educational Laboratory. ผู้เขียน รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช #GeniusXAlpha #BrainSkillDevelopment
เรียนรู้ "ภาษาสมอง" เพื่อเข้าใจการทำงานของสมองและพัฒนาได้อย่าง Genius

ในโลกใบนี้นั้นมีภาษาที่ใช้ในการสื่อสารอยู่มากมายเป็นหลายพันล้านภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด ภาษากาย หรือภาษาใจ และยังแตกแยกย่อยลงไปในแต่ละเผ่าพันธุ์....

“ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา” (Intelligence Quotient) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า IQ เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล และการเชื่อมโยง จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่า เด็กปฐมวัยที่มีแนวโน้มพัฒนาการด้านสติปัญญาดี จะมีลักษณะเป็นเด็กช่างสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว รับรู้และบอกรายละเอียดของสิ่งต่างๆ และเหตุการณ์รอบตัวได้เป็นอย่างดี สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว รู้จักสังเกตุ อยากรู้อยากเห็น ชอบตั้งคำถาม สำรวจ ทดลอง แก้ไขปัญหา มีความคิดเป็นของตัวเอง ความจำดี มีจินตนาการ และต้องการความเป็นอิสระ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเด็กส่วนใหญ่มีลักษณะดังเช่นที่กล่าวมาข้าวต้น เพราะธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีลักษณะที่กระตือรือร้นและสนใจใคร่รู้ตลอดเวลาอยู่แล้ว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ล้วนเป็นสิ่งใหม่ที่น่าสนใจและตื่นเต้นสำหรับพวกเขา ด้วยเหตุนี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า เด็กทุกคนสามารถมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดีได้ หากได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสม ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสังเกตอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สามารถเห็นถึงจุดแข็งที่ซ่อนอยู่ของเด็ก และให้การส่งเสริมเพื่อต่อยอดให้ความสามารถด้านนั้นพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย มีดังนี้ 1. “การลงมือทำ” เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การฟังเสียง การสัมผัส การชิมรส และการดมกลิ่น เพราะข้อมูลที่เด็กได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จะช่วยให้เด็กสามารถจดจำและทำความเข้าใจได้ดีขึ้น เช่น การทัศนศึกษา การทำงานศิลปะ งานสวน ทำอาหาร 2. “การสื่อสาร” เป็นการส่งเสริมให้ลูกได้มีโอกาสฝึกฝนและพัฒนาทักษะในการใช้ภาษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อถ่ายทอดข้อมูล และสื่อสารอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกทั้งของตนเองและผู้อื่นในระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การอ่านหนังสือ การแต่งนิทานจากจินตนาการและเล่าเรื่อง 3. “การเชื่อมโยง” เป็นการช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะทางวิชาการที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เพราะการที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง เด็กจะสามารถเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ของสิ่งนั้น ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายที่แท้จริง เช่น การให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับซื้อของในร้านค้า เด็กจะได้เรียนรู้ตั้งแต่การสังเกตตัวเลขและตัวอักษร โดยอ่านรายการและจำนวนของสิ่งที่ต้องซื้อ อ่านราคาของสินค้า การสังเกตรู้ทรง สีสัน พื้นผิว การเปรียบเทียบความเหมือนและต่างของภาชนะสินค้าต่าง ๆ การจำแนกประเภทของผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ประเภทต่าง ๆ การชั่งน้ำหนัก วัดขนาด ตวงปริมาตรของอาหาร การจดจำทิศทางและคำนวณพื้นที่ของรถเข็นหรือตะกร้ากับสิ่งของที่ต้องซื้อ รวมทั้งการเรียนรู้เรื่องลักษณะของเงินและของค่าเงิน การบวกและลบราคาสินค้า เงินที่ต้องจ่าย และเงินทอน ที่มา Collaborative for Academic, Social, and Emotional Learning [CASEL]. (2016). Safe and sound: An educational leader’s guide to evidence-based Social and Emotional Learning [SEL] programs. Pennsylvania: Mid-Atlantic Regional Educational Laboratory. ผู้เขียน รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช #GeniusXAlpha #BrainSkillDevelopment
10 ทักษะสำคัญที่เด็กยุคนี้ควรมี

เด็กในปัจจุบันควรมีทักษะด้านไหนบ้าง ที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและไปสู่ความสำเร็จได้...

ทักษะสมอง

เรียนรู้ "ภาษาสมอง" เพื่อเข้าใจการทำงานของสมองและพัฒนาได้อย่าง Genius
เรียนรู้ "ภาษาสมอง" เพื่อเข้าใจการทำงานของสมองและพัฒนาได้อย่าง Genius

ในโลกใบนี้นั้นมีภาษาที่ใช้ในการสื่อสารอยู่มากมายเป็นหลายพันล้านภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด ภาษากาย หรือภาษาใจ และยังแตกแยกย่อยลงไปในแต่ละเผ่าพันธุ์....

สเต็มเซลล์แห่งความสุข
สเต็มเซลล์แห่งความสุข

ทฤษฎีพัฒนาการตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันส่วนใหญ่นำเสนอไปในทิศทางเดียวกันว่า มนุษย์สามารถพัฒนาอารมณ์สุขให้เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย...

พัฒนาพ่อแม่

สเต็มเซลล์แห่งความสุข
สเต็มเซลล์แห่งความสุข

ทฤษฎีพัฒนาการตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันส่วนใหญ่นำเสนอไปในทิศทางเดียวกันว่า มนุษย์สามารถพัฒนาอารมณ์สุขให้เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย...

ทำอย่างไร เมื่อ "ลูกไม่กล้าแสดงออก"
ทำอย่างไร เมื่อ "ลูกไม่กล้าแสดงออก"

“ความกล้าแสดงออก” เป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กในยุคนี้ เด็กที่มีความกล้าแสดงออก มักจะมองเห็น #โอกาสต่าง ๆ ที่เข้ามา...

ต้องให้ลูกเรียนแค่ไหน จึงจะ "ดีพอ" และ "ดีพอ"
ต้องให้ลูกเรียนแค่ไหน จึงจะ "ดีพอ" และ "ดีพอ"

ทุกคนอาจเคยได้ยินกันดีว่า “วิชา คือ อาวุธ” พ่อแม่จึงอยากให้ลูกได้เรียนมาก ๆ เพื่อให้มีความรู้ติดตัว เมื่อลูกโตขึ้นในวันข้างหน้าจะได้มีควา...

ทำอย่างไร เมื่อลูก "ไม่กล้าทำอะไรด้วยตัวเอง"
ทำอย่างไร เมื่อลูก "ไม่กล้าทำอะไรด้วยตัวเอง"

การที่เด็กจะ “เติบโต” ได้อย่าง “มีประสิทธิภาพ” ต้องอาศัยการฝึกทักษะหรือความสามารถในหลายด้าน ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่สำคัญคือ “ความเป็นผู้นำ”...

ดีที่สุดสำหรับ "ลูก" หรือ "พ่อแม่"
ดีที่สุดสำหรับ "ลูก" หรือ "พ่อแม่"

พ่อแม่ทุกคนย่อม “ปรารถนาดี” และต้องการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก แต่บางครั้ง "สิ่งที่ดีที่สุด" ที่พ่อแม่พยายามมอบให้กับลูกนั้น...

bottom of page