top of page

"ปลอบ" หรือ "ปล่อย" ทางเลือกไหนปลอดภัยกับสมองเด็ก

ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ เป็นสิ่งที่พ่อแม่หลายคนต้องพบเจอ แต่สิ่งสำคัญคือ แล้วพ่อแม่ต้องรับมืออย่างไรกับเรื่องนี้ ? ควร “ปล่อย”...

"ปลอบ" หรือ "ปล่อย" ทางเลือกไหนปลอดภัยกับสมองเด็ก

ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ เป็นสิ่งที่พ่อแม่หลายคนต้องพบเจอ แต่สิ่งสำคัญคือ แล้วพ่อแม่ต้องรับมืออย่างไรกับเรื่องนี้ ? ควร “ปล่อย” ให้ลูกทำพฤติกรรมเช่นนั้นและหยุดไปเอง หรือ “ปลอบ” เมื่อเด็กร้องไห้งอแงหนักมากขึ้น “จอห์น บี วัตสัน”
นักจิตวิทยาทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นผู้นำทางความคิดว่า… ควรจะ “ปล่อย” ให้เด็กทำพฤติกรรมที่เอาแต่ใจ หรือปล่อยให้ร้องไห้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหยุดเอง เพราะจะทำให้สามารถเติบโตขึ้นไปเป็นเด็กที่สามารถพึ่งตัวเองได้ และเป็นเด็กที่มีอารมณ์ที่มั่นคง จึงทำให้หลายโรงเรียนนำเอาความคิดแบบ “วัตสัน” มาใช้กับเด็กที่ร้องไห้ งอแง ด้วยการปล่อยให้เด็กร้องไปจนกว่าจะหยุดเอง เพื่อไม่สนับสนุนพฤติกรรมที่ไม่มีเหตุผล แต่จากการวิจัยและการศึกษาทฤษฎีที่ตรงกันข้ามกันโดยสิ้นเชิงกับทฤษฎีของวัตสัน คือ ทฤษฏีของ “Johm Bowlby” และ “Mary Ainsworth” เขาได้ทำการทดลอง และได้ข้อสรุปว่า… เด็กนั้นต้องการการดูแลปลอบโยนมากกว่าการวางเฉย ปล่อยให้เด็กร้องไห้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหยุดเอง เพราะการปล่อยเด็กทำเช่นนั้น จะส่งผลเสียกับเด็กมากกว่าการปลอบโยน จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยาวนานตั้งแต่ ยุค 70s พบว่า… การปลอบโยน และการใส่ใจลูกนั้น ส่งผลดีทางด้านพฤติกรรมในระยะยาว เด็กคนนั้นจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ เป็นพ่อแม่ที่มีคุณภาพ และสร้างครอบครัวที่แข็งแรงได้ในอนาคต ดังนั้นเมื่อลูกไม่มีเหตุผล ร้องไห้ หรือเอาแต่ใจ อย่างไรพ่อแม่ก็ "ควรจะปลอบ" และตอบสนองความรู้สึกของเขาทุกครั้ง แล้วจึงค่อยสอนด้วยความใจเย็น เพื่อที่เขาจะได้เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และมีความสุขในอนาคตต่อไป... ที่มา
https://www.verywellmind.com/harry-harlow-and-the-nature-of
https://www.psychologytoday.com/…/20…/dangers-crying-it-out…
https://psychology.jrank.org/pag…/…/John-Broadus-Watson.html GeniusX ALPHA
สมองอัจฉริยะ ชนะเกมชีวิต
“เพราะเราใช้ความสุข ออกแบบอนาคต” #GeniusXALPHA
#BrainSkillDevelopment
#DesignYourLife

bottom of page