ต้องให้ลูกเรียนแค่ไหน จึงจะ "ดีพอ" และ "ดีพอ"
ทุกคนอาจเคยได้ยินกันดีว่า “วิชา คือ อาวุธ” พ่อแม่จึงอยากให้ลูกได้เรียนมาก ๆ เพื่อให้มีความรู้ติดตัว เมื่อลูกโตขึ้นในวันข้างหน้าจะได้มีควา...
ทุกคนอาจเคยได้ยินกันดีว่า “วิชา คือ อาวุธ” พ่อแม่จึงอยากให้ลูกได้เรียนมาก ๆ เพื่อให้มีความรู้ติดตัว เมื่อลูกโตขึ้นในวันข้างหน้าจะได้มีความเป็นอยู่ที่สบาย และมีชีวิตที่มีความสุข แต่ทราบหรือไม่ว่า เรียนแค่ไหนจึงจะถือว่าพอดีสำหรับเด็ก คำตอบคือ “ไม่มีคำตอบ” เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทั้งด้านอุปนิสัย บุคลิก รูปแบบการเรียนรู้ ความชอบ ความสามารถ ความถนัด ฯลฯ
การที่เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน จึงทำให้พ่อแม่แต่ละคนต้องค้นหาคำตอบกันเอาเองว่าแค่ไหนจึงจะถือว่า “พอดี” สำหรับลูก ซึ่ง GeniusX ALPHA จะมาเสนอแนวทางง่าย ๆ เพื่อช่วยให้พ่อแม่ค้นหาคำตอบได้ ดังนี้
1. ดูแนวทางการสอนที่โรงเรียน
เป็นการศึกษาหาข้อมูลว่า โรงเรียนที่ลูกไปเรียน สอนเรื่องอะไรบ้างในแต่ละวัน ซึ่งพ่อแม่สามารถหาคำตอบได้จากการสอบถามจากตัวลูกเอง สอบถามจากครูประจำชั้น หรือฝ่ายวิชาการในโรงเรียนก็ได้
เมื่อได้รับทราบข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าลูก “ขาด” อะไร และควร “เสริม” อะไร เพื่อให้ครอบคลุมการเรียนรู้และพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
2. ให้ลูกเรียนพิเศษเพิ่ม
เมื่อพ่อแม่ได้ทราบแล้วว่าอะไรที่โรงเรียนสอน และไม่ได้สอน และคิดว่าควรเสริมอะไรให้ลูกเพิ่มเติม ให้พ่อแม่เขียนเป็นรายการออกมา แล้วพิจารณาว่าอะไรที่จำเป็นให้ลูกไปเรียนพิเศษเสริมจริง ๆ ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการป้องกันการเรียนซ้ำซ้อนในห้องเรียน ที่อาจทำให้ลูกเกิดความเหนื่อยล้าหรือเบื่อหน่ายได้
3. พูดคุยกับลูกก่อนเรียน
เมื่อพ่อแม่ทราบแล้วว่าควรให้ลูกเรียนพิเศษเสริมอะไร ก็ต้องนำมาพูดคุยกับลูกด้วย โดยไม่ใช้วิธีเผด็จการตัดสินใจแทนลูก ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องสอบถามความสมัครใจของลูกด้วยว่าต้องการเรียนหรือไม่ หากลูกชอบก็ให้เรียนได้เลย แต่ถ้าลูกไม่ชอบก็ไม่ควรไปบังคับ เพราะจะทำให้ลูกเกิดความเบื่อหน่าย และเกลียดกลัวการเรียนรู้ไปเลยก็ได้ หากเป็นเช่นนั้นแล้วจะเกิดผลเสียตามมาอีกมากมาย
เด็กแต่ละคนมีความชอบ ความถนัด และความสามารถที่แตกต่างกัน ดังนั้น วิธีการเรียนรู้ ก็จะแตกต่างกันไปด้วย หาก เข้าใจตัวตนของลูก ก็จะสามารถส่งเสริมเพิ่มความรู้ให้กับลูกได้อย่างถูกทาง มีประสิทธิภาพ และมีความสุขกันทั้งสองฝ่าย ทำให้ลูกสามารถเก็บเกี่ยวความรู้ได้อย่างเต็มที่ ไม่กดดันตัวเองจนเกินไป และสนุกกับการเรียนรู้ จนกลายเป็นเด็กที่รักในการเรียนรู้ในที่สุด…